‘สารให้ความหวานแทนน้ำตาล’ สารอาหารที่เป็นมิตรกับเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด

เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด

Categories :

          เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางครั้งที่ผู้ป่วยเบาหวานกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มรสชาติหวานมากๆ เข้าไป แต่พอใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด แล้วพบว่าค่าว่าน้ำตาลยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ได้สูงขึ้นจนน่ากังวล

            นั่นเป็นเพราะว่าอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล จึงทำให้คนเรารับรู้รสชาติหวานได้ แต่ไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ กับร่างกาย

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลคืออะไร

            สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Sweetener) คือ วัตถุดิบหนึ่งในการประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่ให้รสชาติหวานไม่ต่างจากน้ำตาลทราย หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวทั่วไป แต่จะให้พลังงานน้อยกว่า และดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ช้ากว่าน้ำตาลทั่วไป นั่นจึงเป็นเหตุที่ทำให้ค่าน้ำตาลที่ปรากฏบนเครื่องวัดน้ำตาลในเลือดยังคงเป็นปกติ แม้ว่าจะตรวจน้ำตาลหลังมื้ออาหารแทบจะทันทีก็ตาม

            และด้วยความพิเศษนี้เอง ทำให้มันมักจะถูกนำไปใช้ประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลมีอะไรบ้าง

          สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบให้พลังงาน

            หรือที่เรียกกันว่าน้ำตาลแอลกอฮอล์ เป็นสารให้ความหวานที่ได้จากปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส กาแลกโทส ฟรุกโทส เป็นต้น จะให้รสชาติหวานน้อยกว่าน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ให้พลังงานต่ำ และดูดซึมได้ช้ากว่า จึงช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังมื้ออาหารได้ แต่ก็ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากกินมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสียได้

            ตัวอย่างสารให้ความหวานประเภทนี้ที่พบบ่อย เช่น ไซลิทอล (Xylitol) ซอร์บิทอล (Sorbitol) แมนนิทอล (Mannitol) อิริทริทอล (Erythritol) เป็นต้น

2. สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบไม่ให้พลังงาน

            เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่สังเคราะห์ขึ้นจากกระบวนการทางเคมี สามารถให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทั่วไปหลายร้อยเท่า และมีคุณสมบัติที่ค่อนข้างเฉพาะตัว จึงควรใช้ในปริมาณที่น้อยมากๆ เช่น แอสพาร์แทม (Aspartame) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 180 – 200 เท่า ควรได้รับไม่เกิน 50 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน ไม่ควรใช้ปรุงอาหารร้อน เพราะจะทำให้มีรสขม และห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย ซูคราโรส (Sucralose) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 600 เท่า ควรได้รับไม่เกิน 15 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน ใช้ปรุงอาหารร้อนได้ หญ้าหวาน (Stevia) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า ทนความร้อนได้ดี นิยมใส่ในเครื่องดื่มร้อน เป็นต้น

            ผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้น้ำตาลประเภทนี้ในการประกอบอาหารได้ เพราะน้ำตาลในเลือดจะไม่สูงเกินไปจนทำให้ตกใจกับตัวเลขบนเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด แต่เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบไม่ให้พลังงานทุกประเภท

ใช้สารให้ความหวานควบคู่เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด

            แม้ว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงจนน่ากังวล แต่ผู้ป่วยเบาหวานก็ควรใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ตามที่แพทย์แนะนำเช่นเคย เพราะน้ำตาลเป็นสารอาหารที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว ผัก ผลไม้ เป็นต้น ดังนั้นถึงจะมีการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลแล้ว ก็ยังคงต้องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด เพื่อควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

            แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากผู้ป่วยเบาหวานต้องการรักษาสุขภาพให้ดีที่สุด ควรลด ละ เลิก การกินน้ำตาลมากเกินจำเป็น คือ กินไม่เกิน 4 ช้อนชา สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี หรือไม่เกิน 6 ช้อนชา สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี เพราะถึงแม้สารให้ความหวานจะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่มันสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมได้ เช่น ทำให้ผู้ป่วยติดรสชาติหวาน และหิวบ่อยขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตได้

เลือกซื้อเครื่องวัดน้ำตาลในเลือดที่ได้มาตรฐาน คลิก https://www.accu-chek.co.th/accu-chek-active